วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การป้องกันเด็กเล็ก.Protect children.

การป้องกันเด็กเล็ก   Protect children.
เรียบเรียงจฃข้อมูลและภาพประกอบโดย ampa
ขอบคุณวีดีโอประกอบจาก youtube



Protect children. การป้องกันเด็กเล็ก

    การโดยสารของเด็กเล็กหรือเด็กทารกภายในรถยนต์ฮอนด้าซิตี้  เป็นอีกวิธีการหนึ่งซึ่งจะทำให้เด็กเล็กหรือเด็กทารกได้รับความปลอดภัยจากอุบัติเหตุของการชนหรือการกระแทก เด็กที่มีอายุ 1 ปีขึ้นไปและเด็กที่มีน้ำหนักและความสูงตามที่กำหนดในรถยนต์ฮอนด้าซิตี้  ควรใช้เบาะชนิดหันหน้าอกออก เบาะรัดที่พยุงเด็กให้นั่งตัวตรง


ที่นั่งสำหรับเด็ก Protect children.
               เราขอแนะนำให้ท่านเลือกเบาะชนิดที่มีตัวรัด 5 ตำแหน่งดังที่แสดงในรูป  การใช้งานของเบาะจะต้องดูน้ำหนักและส่วนสูงของเด็กเป็นตัวกำหนดและคุมค่ากับการใช้งานของอุปกรณ์ที่ซื้อติดตั้งเสริม  
ระบบการติดตั้งเบาะสำหรับเด็กเล็กชนิดหันหน้าออกที่เบาะหน้ารถยนต์ฮอนด้าซิตี้ซึ่งติดถุงลมนิรภัยไว้ตรงตำแหน่งที่ผู้โดยสารนั้นเป็นอันตรายมาก หากเบาะนั่งสำหรับเด็กอยู่ชิดด้านหน้ามากเกินไปจะทำให้ศีรษะเด็กำด้รับความรุนแรงจากอุบัติเหตุ  ถุงลมนิรภัยจะทำการพองตัวและอัดกระแทกเข้าที่ตัวเด็กอย่างรุนแรงทำให้บาดเจ็บสาหัสได้  ควรจะติดตั้งเบาะสำหรับเด็กในรถนรต์ฮอนด้าซิตี้ไว้ทางเบาะหลังจะเหมาะสมมากกว่าและมีความปลอดภัยสูง  หรือจะติดตั้งที่เบาะหน้าควรจะเลื่อนที่นั่งไปข้างหลังสุดให้ไกลที่สุด ต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าถุงลมจะทำงานในระยะที่เด็กปลอดภัยและไม่ได้รับบาดเจ็บจากถุงลมนิรภัยได้


อุบัติเหตุเบาะนั่งสำหรับเด็ก

    









วันพุธที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ไฟเตือน SRS ทำงานอย่างไร.SRS Warning lights work.

SRS Warning lights work.ไฟเตือน SRS ทำงานอย่างไร
เรียบเรียงข้อมูลและภาพประกอบโดย ampa

SRS Warning lights work .ไฟเตือน SRS

           การเตือนของไฟเตือนจะอยู่บนแผงหน้าปัดรถเมือเราเปิดกุญแจและพร้อมที่ออกเดินทางด้วยรถฮอนด้าซิตี้  ก็จะโชว์ไฟเตือน SRS เป็นสัญญาณเตือนให้ทราบว่ามีปัญหาเกิดขึ้นกับระบบถุงลม  เซ็นเซอร์ตรวจจับสัญญาณหรือเข็มขัดนิรภัยชนิดปรับความตึงอัตโนมัติ
           เมื่อเราเปิดสวิตซ์สตาร์ไปที่ตำแหน่ง ON (II) ไฟเตือนจะสว่างขึ้นชั่วขณะแล้วดับลง  แสดงว่าระบบทำงานเป็นปกติ
           ในกรณีที่ไฟเตือนแสดงแล้วไม่ดับควรนำไปเข้าศูนย์บริการที่ใกล้บ้านก่อน
             - ถ้าไฟเตือน SRS ไม่สว่าง เมื่อเปิดสวิตซ์สตาร์ตไปที่ตำแหน่ง ON (II)
             - ถ้าไฟเตือนติดค้างภายหลังจากการที่เครื่องยนต์ติดแล้ว
             - ถ้าไฟสว่างขึ้น หรือกะพริบ หรือดับขณะกำลังขับขี่
       เหตุผลหลักทั้งสามข้อที่เราควรนำไปใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถยนต์ฮอนด้าใช้ถนน

          การเข้ารับบริการระบบถุงลม
                 ระบบถุงลมและเข็มขัดนิรภัยชนิดปรับความตึงอัตโนมัติ เป็นระบบที่ไม่ต้องมีการบำรุงรักษา และไม่มีชิ้นส่วนใดที่ท่านสามารถทำการบำรุงรักษาเองได้อย่างปลอดภัย ซึ่งอย่างไรก็ตามเมื่อระบบถุงลมมีปัญหาควรให้ศูนย์บริการที่มีผู้เชี่ยวชาญดูแลรักษาจะดีกว่า
       
        ถุงลมได้เคยพองตัวมาแล้ว
            ถุงลมและชุดควบคุม และชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ต้องได้รับการเปลี่ยนใหม่  อย่าพยายามเปลี่ยนถุงลมด้วยตนเอง เพราะจะทำให้การทำงานของถุงลมทำงานไม่ปกติ ควรจะให้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้เข้ามาดูแลท่าน


วันอังคารที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2555

Front air bags work..ถุงลมด้านหน้าทำงานอย่างไร

Front air bags work. ถุงลมด้านหน้าทำงานอย่างไร
 เรียบเรียงข้อมูลและภาพประกอบโดย ampa
ขอบคุณภาพประกอบจาก youtube
         
               การเกิดอุบัติเหตุในยุคสมัยนี้จะได้รับความรุนแรงกับร่างกายมากที่สุด  ถ้าไม่มีการรับมือกับความบาลเจ็บจากการใช้รถฮอนด้าซิตี้  และในเรื่องนี้จะเล่าถึงความปลอดภัยของรถยนต์ฮอนด้าซิตี้กับการทำงานของถุงลมด้านหน้าว่าทำงานกันอย่างไร
               จากการสำรวจของศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ  เครือโรงพยาบาลกรุงเทพพบว่าการบาลเจ็บจากอุบัติเหตุรถยนต์เกิดจากการที่รถยนต์ไม่มีถุงลมนิรภัยและไม่ขาดเข็มขัดนิรภัยในรถยนต์ จนทำให้รถยนต์ฮอนด้าที่เกิดอุบัติเหตุที่เกิดจากการพลิกคว่ำ หรือจนกระแทกกับต้นไม้และสิ่งก่อสร้างทางไหล่ทาง
             
Front air bags work.
             การเกิดอุบัติเหตุในรถยนต์ฮอนด้าซิตี้ที่กระแทกทางด้านหน้าในระดับการชนที่เกิดอุบัติเหตุไม่รุรแรงจนถึงขั้นรุนแรงตัวเซ็นเซอร์ของรถยนต์ฮอนด้าซิตี้จะตรวจจับการลดความเร็วของรถที่ขณะวิ่งอยู่อย่างรวดเร็ว  แต่ถ้าอัตราการลดระดับความเร็วมีสูงมากพอ(ความเร็วที่มากในการหยุดรถยนต์ฮอนด้าซิตี้) ชุดควบคุมจะกระตุ้นให้ถุงลมด้านคนขับขี่และถุงลมด้านหน้าผู้โดยสารที่นั่งตอนหน้ารถยนต์ฮอนด้าซิตี้พองตัวและสั่งการให้ปรับความตึงอัตโนมัติเข็มขัดนิรภัยทำงาน


Front air bags work.การยุบตัวของเข็มขัดนิรภัย


                  ในระหว่างการชนด้านหน้า เข็มขัดนิรภัยจะช่วยยึดร่างกายส่วนล่างและลำตัว ขณะที่ถุงลมด้านหน้าจะช่วยรองรับและป้องกันศีรษะและหน้าอก  แม้ว่าโดยปกติแล้วถุงลมทั้งสองใบจะพองตัวพร้อมๆ กันภายในเสี้ยววินาที แต่มีบางกรณีที่ถุงลมพองตัวเพียงใบเดียว  เหตุที่เป็นเช่นนี้เนื่องมาจากความรุนแรงของการชนถึงขีดจำกัดที่จะสั่งให้ถุงลมพองตัวหรือไม่พองตัว ในกรณีดังกล่าว เข็มขัดนิรภัยจะให้การป้องกันอย่างเพียงพอ และการป้องกันเสริมของระบบถุงลมจะมีไม่มาก  




ถุงลมนิรภัยทำงานอย่างไร (ขอบคุณวิดีโอประกอบจากyoutube)


                  หลังจากถุงลมพองตัวแล้ว  จะยุบตัวลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นจะไม่บดบังทัศนวิสัยของผู้ขับขี่หรือกีดขวางความสามารถในการบังคับหรือควบคุมใดๆ เวลาทั้งหมดที่ถุงลมเริ่มพองตัวและยุบตัวลงประมาณ 1/10 วินาที รวดเร็วจนผู้โดยสารไม่อาจรับรู้ได้ว่ามีการทำงานของถุงลมจนกว่าจะเห็นถุงลมวางอยู่บนตัก  ซึ่งหลังจากที่เกิดอุบัติเหตุการชน ท่านอาจเห็นสิ่งที่คล้ายควัน สิ่งนั้นคือผงฝุ่นที่อยู่บนพื้นผิวของถุงลม แม้ว่าผงฝุ่นจะไม่เป็นอัตราย แต่ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ อาจจะรู้สึกหายใจไม่สะดวก หากเกิดปัญหานี้ขึ้นมาให้ออกไปอยู่นอกรถยนต์ฮอนด้าศซิตี้ทันที




วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2555

Seat belt Maintenance.การบำรุงรักษาเข็มขัดนิรภัย

Seat belt  Maintenance  การบำรุงรักษาเข็มขัดนิรภัย
  เรียบเรียงข้อมูลโดย ampa
  ขอบคุณภาพประกอบจาก  9carthai

Seat belt  Maintenance

    #  Seat belt  Maintenance  การบำรุงรักษาเข็มขัดนิรภัย #
                   การใช้งานของอุปกรณ์นิรถัยในรถยนต์ฮอนด้าซิตี้ มีความสำคัญอีกมากมายรวมไปถึงการดูแลรักษาอุปกรณืเข็มขัดนิรภัยรถฮอนด้าซิตี้  ควรตรวจสอบสภาพของเข็มขัดนิรภัยรถยนต์ฮอนด้าซิตี้เป็นประจำ โดยการดึงสายเข็มขัดนิรภัยรถฮอนด้าซิตี้ ออกมาจนสุดตรวจสอบดูรอยขาดหลุดลุ่ย  ไหม้หรือการสึกหรอ ตรวจดูการล็อกของหัวเข็มขัดนิรภัยฮอนด้าซิตี้และตรวจสอบการดึงกลับของหัวเข็มขัดนิรภัยรถยนต์ฮอนด้าซิตี้ว่าปกติหรือไม่  หากเข็มขัดนิรภัยรถยนต์ฮอนด้าซิตี้ไม่ดึงกลับได้ง่าย  ควรจะทำความสะอาดเข็มขัดนิรภัยรถยนตืฮอนด้าซิตี้อาจช่วยแก้ปัญหาดังนี้

Seat belt  Maintenance ห่วงโลหะ
การแก้ไขปัญหา  
     1. ทำความสะอาด  โดยใช้แปรงขนนุ่มกับน้ำสบู่อุ่นๆ ขัดตรงบริเวณเข็มขัดนิรภัยรถยนต์ฮอนด้าซิตี้ 
     2. ไม่ควรใช้ผงขัด หรือสารทำลาย เพราะอาจทำให้วัสดุเกิดการเสื่อมสภาพ
     3. ปล่อยให้เข็มขัดนิรภัยรถยนต์ฮอนด้าซิตี้แห้งก่อนการนำรถไปใช้งาน
     4. คราบสกปรกบนห่วงโลหะของจุดยึดเข็มขัดนิริภัยรถยนต์ฮอนด้าซิตี้จะทำให้เข็มขัดนิรภัยดึงตัวกลับช้าควรใช้ผ้าสะอาดชุบแอลกอฮอล์หรือส่วนผสมน้ำสบู่อุ่น เช็ดด้านในของห่วงโลหะให้สะอาด

              การที่เข็มขัดนิรภัยรถยนต์ฮอนด้าซิตี้ เส้นใดที่ไม่อยู่ในสภาพดีหรือทำงานได้ไม่ดีก็จะให้การป้องกันกับท่านได้ไม่ดี  ควรเปลี่ยนเข็มขัดนิรภัยรถยนต์ฮอนด้าซิตี้เส้นใหม่ทันที  จะต้องให้ศูนย์บริการตรวจสอบและเปลี่ยนใหม่ทันที




วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2555

เข็มขัดนิรภัยชนิดคาดตัก/ไหล่รถยนต์ฮอนด้าซิตี้

เข็มขัดนิรภัยชนิดคาดตัก/ไหล่รถยนต์ฮอนด้าซิตี้

       เรียบเรียงข้อมูลและภาพประกอบโดย ampa


       เมื่อคราวที่แล้วเราได้กล่าวถึงการปรับระดับการคาดเข็มขัดนิรภัยสำหรับผู้ขับขี่และผู้โดยสารที่ใช้รถฮอนด้าซิตี้ไปแล้ว  การใช้อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยเพื่อการใช้รถยนต์และเกิดการชนในขณะขับขี่
เรามารู้จักจุดต่างของเข็มขัดนิรภัยรถยนต์ฮอนด้าซิตี้กันดีกว่า


ส่วนประกอบของเข็มขัดนิรภัย
- เข็มขัดนิรภัยชนิดนี้ จะมีสายรัดเส้นเดียวเท่านั้น จะคาดจากไหล่มาหน้าอก  และมาที่สะโพก 
- เข็มขัดนิรภัยทุกรุ่นจะมีตัวดึงล็อกฉุกเฉิน เราสามารถเคลื่อนไหวได้ตามสบาย


ส่วนประกอบของเข็มขัดนิรภัยผู้โดยสาร
-  การปรับเข็มขัดนิรภัยของผู้โดยสารจะทำเหมือนผู้ขับขี่ทั้งสองฝั่ง ยกเว้นผู้โดยสารที่นั่งตรงกลางจะมีสายคาดที่ตักเพียงอย่างเดียว  การปรับทำได้ง่ายและเหมาะสมกับผู้โดยสาร  การคาดเข็มขัดนิรภัยในรถฮอนด้าซิตี้จะมีสายเส้นเดียวเหมือนผู้ขับขี่ และจะต้องปรับด้วยมือ (ตามรูป)

"การปลดล็อกเข็มขัดนิรภัย"  ทำได้ง่ายนิดเดียว  โดยการกดปุ่ม PRESS  สีแดงที่หัวเข็มขัดนิรภัยรถยนต์ฮอนด้าซิตี้  

      เมื่อเกิดการชนเข็มขัดนิรภัยจะทำงานอัตโนมัติและถุงลมนิรภัยก็เริ่มทำงาน(พองตัวเพื่อรอรับการกระแทก) จึงทำให้เกิดความปลอดภัยในการขับขี่รถยนต์ฮอนด้าซิตี้มากขึ้น






วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2555

The seat belts for passenger.. เข็มขัดนิรภัยคาดตักสำหรับผู้โดยสาร

The seat belts for passenger.  เข็มขัดนิรภัยคาดตักสำหรับผู้โดยสาร
เรียบเรียงข้อมูลและภาพประกอบโดย ampa


เข็มขัดนิรภัยผู้โดยสาร
           การคาดเข็มขัดนิรภัยโดยการนำแผ่นล็อกเสียบเข้าไปในหัวเข็มนิรภัยที่เขียนว่า CENTER (ตามรูป) เข็มขัดนิรภัยถ้าเกิดสั่นไปืจับแผ่นล็อกให้ตั้งฉากกับสายเข็มขัดนิรภัยแล้วดึงเพื่อปรับให้สายเข็มขัดนิรภัยยาวขึ้น จากการสอดแผ่นล็อกเข้าในหัวเข็มขัดนิรภัย และขยับสายเข็มขัดนิรภัยเพื่อตรวจดูว่าล็อกเรียบร้อยแล้วหรือไม่ 


การเลื่อนปรับเข็มขัดนิรภัยผู้โดยสารให้สั่่น-ยาว
          เลื่อนสายเข็มขัดให้ต่ำที่สุด โดยพาดผ่านสะโพก  กระดูกเชิงกรานที่แข็งแรงจะเป็นตัวรับแรงกระแทกเมื่อเกิดการชน  ...ดึงปลายเข็มขัดนิรภัย  เพื่อปรับความตึงให้เหมาะสม


ข้อควรระวัง
1.ควรตรวจสอบการใช้งานโดยการดึงเข็มขัดนิรภัยโดยใช้แรงดึงให้เข็มขัดนิรภัยทำงาน  จะมีอาการโดยจะหยุดทันทีที่ดึง
2. การเดินทางในแต่ละครั้งควรจะคาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้งเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถทุกครั้ง

วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555

Adjust the seat belt. . ปรับและคาดเข็มขัดนิรภัย

  Adjust the seat belt. ปรับและคาดเข็มขัดนิรภัย

   เรียบเรียงข้อมูลและภาพประกอบโดย  ampa 

             การใช้เข็มขัดนิรภัยชนิดคาดตักและไหล่  เริ่มจากการสอดลิ้นล็อกเข้ากับหัวเข็มขัดนิรภัย ดึงสายเข็มขัดนิรภัยดูเพื่อให้แน่ใจว่าเข็มขัดนิรภัยล็อกเรียบร้อยแล้ว และต้องตรวจสอบด้วยว่าสายเข็มขัดนิรภัยไม่บิดพับ เพราะสายเข็มขัด ถ้าหากเกิดการบิดพับก็อาจจะทำให้ได้รับบาดเจ็บสาหัสเมื่อเกิดการชน


คาดเข็มขัดนิรภัย
                   จัดต่ำแหน่งสายเข็มขัดนิรภัยส่วนที่คาดที่ตักให้ต่ำที่สุด  ให้ผ่านสโพกแล้วดึงสายเข็มขัดนิรภัยส่วนที่คาดไหล่ขึ้นจนกระทั่งสายเข็มขัดกระชับ  การทำเช่นนี้จะช่วยให้กระดูกเชิงกรานซึ่งมีความแข็งแรงเมื่อเกิดการชนและต้องดูอีกครั้งเพื่อไม่ให้สายเข็มขัดนิรภัยไม่หย่อนตรงไหล่  ตรวจสอบว่าพาดผ่านกึ่งกลางอกไปยังไหล่  จะช่วยกระจายแรงที่เกิดจากการชนไปยังกระดูกที่แข็งแรงที่สุดในส่วนร่างกายท่อนบน  


ปุ่มปรับเลื่อนเข็มขัดนิรภัย
               สายเข็มขัดนิรภัยสัมผัสหรือพาดผ่านคอหรือแขนแทนที่ควรจะพาดผ่านไหล่ ควรปรับความสูงของเข็มขัดนิรภัย  เบาะนั่งตอนหน้ามีตัวปรับระดับเข็มขัดนิรภัยที่สามารถปรับได้ ในการปรับความสูงของตัวปรับระดับ ให้กดปุ่มคลายล็อกค้างไว้ (ตามรูป) แล้วเลื่อนตัวปรับระดับขึ้นหรือลงตามความเหมาะสม



วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ปรับหมอนพิงศีรษะรถยนต์


การปรับหมอนพิงศีรษะรถยนต์
เรียบเรียงข้อมูลและรูปภาพโดย ampa


ปรับหมอนพิงศีรษะรถยนต์
              การปรับหมอนพิงศีรษะผู้ขับขี่ให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม  ควรอยู่ในตำแหน่งที่ด้านหลังของศีรษะวางอยู่ตรงกลางของหมอนพิงศีรษะ (ตามรูป)
                  -  ปรับหมอนพิงศีรษะของผู้โดยสารให้เหมาะสม สำหรับผู้ที่ตัวสูง เมื่อผู้โดยสารที่นั่งอยู่ตรงกลางเบาะท้าย  ปรับระดับขึ้นในตำแหน่งสูงที่สุด จะช่วยป้องกันท่านจากการบาดเจ็บที่คอหรือที่อื่นๆ เมื่อเกิดการชน 
                 วิธีปรับหมอนพิงศีรษะ 
                         1. ด้านหน้า


ปรับหมอนพิงศีรษะด้านหน้า
                           2. ด้านผู้โดยสาร  

ปรับหมอนพิงศีรษะผู้โดยสาร

                       การปรับหมอนพิงศีรษะด้านหน้าและผู้โดยสาร   สามารถปรับสูงต่ำ โดยการปรับต้องใช้มือทั้งสองข้าง และห้ามปรับหมอนพิงศีรษะในขณะขับขี่รถ การปรับให้สูงขึ้นทำได้โดยดึงหมอนพิงศีรษะขึ้น ส่วนการปรับลงให้กดปุ่มปลดล็อกด้านข้างและกดหมอนพิงศีรษะลง (ตามรูป)

           ข้อควรระวังในการปรับหมอนพิงศีรษะ...........
           1. ตำแหน่งหมอนพิงศีรษะที่ไม่ถูกต้องจะลดประสิทธิภาพการป้องกันลง ท่านอาจบาดเจ็บรุนแรงเมื่อเกิดการชน  
           2.  ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าหมอนพิงศีรษะอยู่ในตำแหน่งถูกต้อง





                          

                         


วันอาทิตย์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การปรับเบาะหน้า

ปรับเบาะหน้า
....การปรับเบาะหน้า
      การปรับเบาะนั่งคนขับรถ  ควรจะถอยให้ห่างจากพวงมาลัยเท่าที่ร่างกายเหมาะสม สามารถบังคับรถได้อย่างดีและเหมาะสมกับร่างกาย  โดยเฉพาะท่อนขาที่ต้องเหยียบแป้นเบรก คันเร่ง ต้องปรับให้สมดุลกับร่างกายไม่ควรไกลหรือใกล้จนเกินไป  เมื่อปรับเบาะได้สมดุลแล้วให้ท่านขยับเบาะไปทางด้านหน้าหรือด้านหลังเพื่อให่เบาะที่เราปรับเข้าล็อกพอดี


ปรับเบาะหน้า (คันโยก)
..... การปรับเบาะ ให้เลื่อนไปข้างหน้าหรือข้างหลัง โดยดึงคันโยกที่ขอบด้านหน้าใต้เบาะนั่ง เลื่อนเบาะนั่งไปยังตำแหน่งที่ต้องการแล้วปล่อยคันโยก ขยับเบาะนั่งดูว่าล้อกอยู่ในตำแหน่งเรียบร้อยแล้ว

ปรับเบาะหน้า (คันปรับระดับพนักพิงหลัง)

.......การปรับมุมพนักพิงหลัง ดึงคันโยกที่อยู่ข้างเบาะนั่งด้านนอกขึ้น (ตามรูป) ปรับตำแหน่งพนักพิงให้ได้มุมตามที่ต้องการแล้วปล่อยคันโยก  ขยับพนักพิงเล็กน้อยให้ล็อกอยู่ที่ตำแหน่งที่ถูกต้อง

ปรับเบาะนั่งผู้ขับขี่แบบแมนนวล
....สามารถปรับความสูงของเบาะนั่งคนขับได้ในการปรับเบาะขึ้น ดึงคันโยกที่อยู่ด้านนอกของเบาะนั่งขึ้นหลายๆ ครั้ง ในการปรับเบาะขึ้นและลง ตามความสบายของผู้นั่งในการขับขี่ ให้กดคันโยกหลายๆ ครั้งในการปรับระดับ

ปรับเบาะนั่งหลังผู้โดยสาร
.....สามารถปรับมุมของพนักพิงหลังแต่ละตัวได้ ให้ดึงคันโยกปล่อย (ตามรูป) ที่อยู่ด้านนอกของพนักพิงหลังขึ้น ปรับได้ตามความเหมาะสมของการออกแบบของรถแต่ละรุ่น

- สิ่งที่ควรระวังในการปรับเบาะหน้า
    1. ไม่ควรนั่งใกล้กับแผงหน้าปัทม์มากเกินไป อาจะได้รับบาดเจ็บจากการกระแทกหน้าปัทม์รถ
    2. การนั่งใกล้ถุงลมด้านหน้ามากเกินไป อาจทำให้ได้รับบาดเจ็บสาหัส หรือเสียชีวิต หากถุงลมด้านหน้าทำงาน(พองตัว)
   3. ควรนั่งให้ห่างจากถุงลมด้านหน้าให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และเหมาะสมกับสรีระร่างกายในการขับขี่
  4. ไม่ควรประมาณในการขับขี่หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกฮอล์ระหว่างขับขี่รถ



เรียบเรียงข้อมูลและรูปภาพโดย ampa